เวชภัณฑ์.คอม
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
  • หน้าแรก
  • เรื่องสุขภาพน่ารู้
  • สินค้า
  • ติดต่อ
  1. คุณอยู่ที่:  
  2. หน้าแรก
  3. เรื่องสุขภาพน่ารู้
  4. โรคทางกายภาพบำบัดที่พบบ่อย
  5. ตอนที่ 5 โรคไหล่ติด” หรือ “ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง”

ตอนที่ 5 โรคไหล่ติด” หรือ “ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง”

  • Created
    วันพฤหัสบดี, 04 มิถุนายน 2558
  • Created by
    Administrator
  • Last modified
    วันอังคาร, 07 กรกฎาคม 2558
  • Revised by
    Administrator
  • Voting
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    (1 vote)
  • Favourites
    Add to favourites
  • Categories
    โรคทางกายภาพบำบัดที่พบบ่อย

โรคไหล่ติด” หรือ “ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง”

 

10959526 1549880245265832 3148710768288285520 n

 

ในทางการแพทย์อาจมีชื่อเรียกภาวะข้อไหล่ติดแข็งหลายอย่าง เช่น “Frozen shoulder” หรือ “Adhesive Capsulitis” เป็นต้น ซึ่งภาวะข้อไหล่ติดแข็งจะมีอาการสำคัญอยู่ 2 อย่าง คือ 
1. อาการปวดไหล่
2. ข้อไหล่ติดแข็งจนเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้น้อยลง 

….. สาเหตุ.....
ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ แต่อาจจะพบได้ในผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้
... ผู้ที่มีการใช้ไหล่ในชีวิตประจำวันหนัก/มากเกินไป เช่น การยก/แบกหาม วัตถุที่มีน้ำหนักมากเกินไป การเล่นกีฬาที่ต้องใช้กำลังแขนมากๆ ส่งผลให้เอ็นกล้ามเนื้อ ถุงน้ำในข้อไหล่ กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่เกิดการอักเสบ
... การใช้งานในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งทำงานที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ที่สูงหรือต่ำเกินไป 
... อุบัติเหตุบริเวณข้อไหล่โดยตรง เช่น การถูกกระแทก ทำให้ข้อไหล่หลุด กระดูกต้นแขน/สะบัก/ไหปลาร้าหัก

 

….. ปัจจัยที่ส่งผล.....
... ผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี 
... เพศหญิงมีโอกาศมากกว่ามากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า 
... ผู้ป่วยกลุ่มโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน อัมพาตครึ่งซีก พาร์กินสัน ต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น ไทรอยด์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไหล่ติดมากขึ้น

 

5 2

 ….. ระยะของการเกิดโรค.....
ระยะที่ 1: ระยะปวดไหล่ (2-9 เดือน)
... ปวดไหล่เมื่อมีการเคลื่อนไหวของแขน ปวดทั่วไปบริเวณหัวไหล่ แต่ไม่มีจุดกดเจ็บที่แน่นอน 
... มีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่
... ปวดมากขึ้นในเวลากลางคืน/อยู่นิ่งๆ 
ระยะที่ 2 : ระยะข้อไหล่ติด (3-9 เดือน)
... อาการปวดไหล่จะลดลง 
... มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เพิ่มขึ้น
... อาการปวดตอนกลางคืน/อยู่นิ่งๆ ลดลง 
... รู้สึกปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวช่วงสุดท้ายของแขน
ระยะที่ 3 : ระยะฟื้นตัว (12-24 เดือน)
... อาการปวดไหล่ลดลงเรื่อยๆ 
... มีเคลื่อนไหวของแขนได้มากขึ้น 
... การฟื้นตัวจะหายเองได้ แต่มักจะเคลื่อนไหวแขนได้ไม่สุดเหมือนที่เคยทำได้ระยะที่หนึ่ง

 

….. การเคลื่อนไหวที่เป็นปัญหาในผู้ป่วยภาวะข้อไหล่ติดแข็ง .....
... กางแขนออกด้านข้างแล้วหงายฝ่ามือขึ้น 
... เหยียดแขนขึ้นไปหยิบของเหนือศีรษะ 
... ติดตะขอชุดชั้นใน
... สระผม/หวีผม
... เอามือถูหลังตัวเอง 
... เมื่อสวมหรือถอดเสื้อยืดเข้าออกทางศีรษะ
... เมื่อติดกระดุมเม็ดล่างด้านหน้าของเสื้อเชิ้ต 
... เมื่อล้วงของออกจากกระเป๋าหลังของกางเกง 
... เอื้อมมือไปหยิบของซึ่งวางบนเบาะหลังของรถ 
... ดันประตูหนักๆ ให้เปิดออก 
... การขับรถในคนไหล่ติดจะมีความลำบากในการหมุนพวงมาลัยรถ 

 

 ….. การรักษา....
... การบริหาร/ออกกำลังกายข้อไหล่ 
... การรับประทานยา 
... การวางประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือแผ่นเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวด 
... การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ที่มีข้อไหล่ติดมาก 

... ติดตามการบริหารข้อไหล่แบบทำเอง...ง่ายๆ..สำหรับผู้ที่มีปัญหา...ข้อไหล่ติด...ในตอนต่อไปคะ 

 

 

ท่าบริหารด้วยตัวเอง สำหรับผู้ที่มีอาการ “ไหล่ติด” หรือ “ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง”

5 3

 

 ….. ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า
ยืนกางแขน 90 องศา ขาสองข้างกางห่างจากกันเล็กน้อย
มือจับขอบประตูในลักษณะคว่ำมือ
ค่อยๆ บิดลำตัวไปด้านตรงข้าม จนรู้สึกตึงต้นแขนด้านหน้า ค้างไว้ นับ 1-10

 

….. ท่าที่ 2 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง
ยืนลำตัวตรง ยื่นแขนข้างที่ต้องการยืดกล้ามเนื้อมาด้านหน้า
ใช้เเขนอีกข้าง ดันบริเวณข้อศอก
แล้วค่อยๆดึงเข้าหาลำตัว ค้างไว้ นับ 1-10

 

 ….. ท่าที่ 3 ท่ากดแขน เพื่อเพิ่มมุมการยกแขน
นอนหงาย ใช้มือข้างที่ไม่ปวดจับบริเวณข้อศอกของแขนด้านที่ปวด
แล้วค่อยๆดันแขนไปทางศีรษะ ค่อยๆทำช้าๆจนชิดเตียง
หากไม่สามารถชิดเตียงได้ ให้ทำจนรู้สึกตึงๆแล้วค้างไว้ นับ 1-10

 

 ….. ท่าที่ 4 ท่าดึงผ้า เพื่อเพิ่มมุมการหมุนข้อไหล่เข้า-ออก
มี 2 ลักษณะ
1. ยกมือข้างที่ปวดไว้ด้านบน แล้วค่อยๆดึงผ้าลงด้านล่างช้าๆ ค้างไว้ นับ 1-10
2. มือข้างที่ปวดไว้ด้านล่าง แล้วค่อยๆดึงผ้าขึ้นด้านบนช้าๆ ค้างไว้ นับ 1-10
พยายามให้ผ้าอยู่ในลักษณะตั้งตรง ขนาบกับแนวกระดูกสันหลัง

 

 ….. ท่าที่ 5 ท่าไต่ฝา เพื่อเพิ่มมุมการยก  
ยืนตรง ขาสองข้างห่างกันเล็กน้อย หันหน้าเข้าหาฝาผนัง ยกแขนข้างที่ปวดขึ้น
ค่อยๆใช้เมือไต่ฝาผนังขึ้น เมื่อรู้สึกปวดให้หยุดในตำแหน่งนั้นแล้วค่างไว้ นับ 1-10
ค่อยๆ ผ่อนแขนลง

 

….. ท่าที่ 6 ท่าไต่ฝา เพื่อเพิ่มมุมการกางแขน  
ยืนตรง ขาสองข้างห่างกันเล็กน้อย หันด้านข้างเข้าหาฝาผนัง กางแขนข้างที่ปวดขึ้น
ค่อยๆใช้เมือไต่ฝาผนังขึ้น เมื่อรู้สึกปวดให้หยุดในตำแหน่งนั้นแล้วค่างไว้ นับ 1-10
ค่อยๆ ผ่อนแขนลง

... การบริหารแนะนำว่าควรทำท่าละ 10-20 ครั้ง/1รอบ วันละ 2-3 รอบ นะคะ


♥

... ด้วยความปรารถนาดีจากคลินิกบ้านดอนกายภาพบำบัด ให้คำปรึกษาและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 
083-790-1900 / 091-034-0204 ....

Facebook Comment

หมวดหมู่สินค้า

  • เครื่องมือกายภาพบำบัด
    • เครื่องอัลตราซาวน์/เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
    • หม้อต้มแผ่นประคบร้อน
    • พาราฟิน/หม้อต้นพาราฟิน
  • อุปกรณ์ช่วยเดินต่างๆ
    • ไม้เท้า 1ปุ่ม ,3ปุ่ม ,4ปุ่ม
    • เครื่องช่วยเดิน 4 ขา (Walker)
  • อุปกรณ์ออกกำลังกาย

Facebook

ข้อมูลติดต่อ

คลินิกบ้านดอนกายภาพบำบัด

โทร : 091-0340204

Copyright © เวชภัณฑ์.คอม www.vetchapan.com  สนับสนุน โดย บ้านดอนกาพภาพบำบัด

ติดต่อสอบถาม โทร 091-0340204